back to top

7 พฤติกรรมลดความดันโลหิต

ผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มักจะไม่มีอาการใดๆ คนส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ความสนใจ จนเริ่มมีอาการ ย้ำกันอีกทีองค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2542 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถ้าปล่อยไว้โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (stroke) เนื่องจากความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและรูของหลอดเลือดแดงตีบแคบลง เลือดไหลผ่านไม่สะดวกทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง นอกจากนี้ยังทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กในสมองโป่งพองออกเป็นกระเปาะเล็กๆ และเกิดการปริแตก ทำให้มีเลือดออกในสมองตามมา รวมไปถึงเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคไตวาย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น

ย้ำกันอีกครั้งองค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2542 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยปัจจุบันสำรวจพบว่าคนไทย 20% สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้

1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น 

2. เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน เช่น ตอนเช้าความดันซิสโตลิก (ความดันตัวบน) อาจจะวัดได้  130 มม.ปรอท ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น

3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน

4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง

5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว และสิ่งแวดล้อมที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงด้วย

6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท

7. เชื้อชาติ พบว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว

8. เกลือ ผู้ที่กินเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่กินเกลือน้อย

จากการที่ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลงได้ ผู้ป่วยจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือไม่ โดยระดับความรุนแรง แบ่งเป็น

ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท

ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท

ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180-110 มม.ปรอทขึ้นไป

การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนั่งพัก วัดด้วยเทคนิคที่ถูกต้องและควรวัดซ้ำ 2-3 เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ

สำหรับ 7 วิธีการรักษาโรค ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ

2. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ในแต่ละวันอาจจะแบ่งออกกำลังเป็นช่วงสั้นๆ ครั้งละ 10 นาที วันละ 3 ครั้ง

3. จำกัดโซเดียมในอาหาร ควรบริโภคไม่เกิน 2300 มิลลิกรัม ต่อวัน สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ทั้งในผู้ป่วยที่มีความดันและไม่มีโรคความดันโลหิตสูง 

4. การรับประทานอาหารตามแนวทาง DASH Diet (Dietary Approches to Stop Hypertension) ตามแนวทางโภชนาการ โดยเน้นการรับประทานอาหารร่วมกับการลดปริมาณโซเดียมและไขมันอิ่มตัว และเพิ่มการบริโภคใยอาหาร แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียมจากอาหาร เพื่อควบคุมความดันโลหิตและช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจ

5. การจำกัดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. การหยุดบุหรี่ การเลิกบุหรี่อาจไม่มีผลต่อการลดความดันโลหิตโดยตรง แต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

7. การลดความเครียด รวมถึงการผ่อนคลายความเครียด และลดการวิตกกังวล

ที่มา https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ลด-ความดันโลหิตสูง-ด้วย-10/