back to top

4 วิธีควบคุมเบาหวานให้อยู่

ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 537 ล้านรายเสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคนต่อปี ส่วนในไทยมีผู้ป่วยเบาหวาน 6.5 ล้านราย คิดเป็น 1 ใน 10 (อายุ 15 ปีขึ้นไป) คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 643 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 และ 783 ล้านคนในปี พ.ศ. 2588 ตามลำดับ หลายคนเป็นโรคเบาหวานแล้ว หลายคนเป็นไม่รู้ตัว และหลายคนก็อาจจะยังไม่ได้เป็น 

ข้อแนะนำสำคัญ ถ้าใครยังไม่เป็นต้องป้องกันอย่างดี เพราะเป็นโรคเบาหวานแล้วเสี่ยงตามมาอีกหลายโรค วิธีการง่าย 4 วิธีขอให้ทำกันให้ได้สม่ำเสมอ ประกอบด้วย 

1. ออกกำลังกายอย่าให้ขาด 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3-5 วันต่อสัปดาห์ และให้เดินมากกว่า 1 หมื่นก้าวต่อวัน 

2. ลดน้ำหนักอย่างน้อย 5-10% ของน้ำหนักตัวเดิม 

3. ควบคุมอาหาร ด้วยหลัก 2:1:1 ประกอบด้วย แป้ง 1 ส่วน เนื้อสัตว์ 1 ส่วน ผัก 2 ส่วน 

4. งดสูบบุหรี่ และดื่มสุรา 

คนป่วยแล้วหากดูแลตัวเองให้ดีก็ทำให้โรคเบาหวานอยู่ในระยะสงบ (DM Remission) ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น เพื่อให้เข้าสู่เบาหวานระยะสงบได้ด้วยการติดตามตัวเลขสุขภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร รอบเอวไม่เกินส่วนสูงหาร 2 ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (Hb A1c) น้อยกว่า 6.5% ระดับความดันโลหิต (BP) ตัวบนน้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท ตัวล่างน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท

สำหรับผู้ที่ยังไม่เห็นให้สังเกตอาการของเบาหวาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ 
1. อาการของเบาหวานที่เกิดจากน้ำตาลสูงในกระแสเลือด ประกอบด้วย 
– ปัสสาวะบ่อย และปริมาณมาก
– กระหายน้ำ คอแห้ง และดื่มน้ำมาก
– หิวบ่อย รับประทานอาหารมาก
– น้ำหนักลด ผอมลง
– อ่อนเพลีย


2. อาการที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน
– หอบ ปวดท้อง ซึม จากภาวะเลือดเป็นกรด
– ตาพร่ามัว (จากการเสื่อมของจอประสาทตา)
– เป็นแผลรักษาหายยาก
– ชาตามปลายมือปลายเท้า (จากการเสื่อมของปลายประสาท)


มาย้ำเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ประกอบด้วย
– บุคคลที่มีอายุ มากกว่า 35 ปี
– อ้วนและ มี พ่อ แม่ พี่ หรือน้อง เป็นเบาหวาน
– เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือกำลังรับประทานยาควบคุมความดันโลหิต
– มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
– ไขมันไตรกลีเซอไรด์มากกว่าหรือเท่ากับ 250 มก./ดล.
– เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 35 มก./ดล.
– มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
– เคยได้รับการตรวจพบมีภาวะก่อน
– มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
– ผู้หญิงที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ
– ผู้ที่มีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่นเป็นโรคอ้วนรุนแรง
– ผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วี


หากพบความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานอย่างเหมาะสมต่อไป

ข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ กรมควบคุมโรค